12. กิจกรรมด้านโลจิสติกส์
ความเป็นมาโครงการโลจิสติกส์ของเจโทร
รัฐบาลญี่ปุ่นได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินงานทางด้านโลจิสติกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อความสามารถในการแข่งขันในระบบการค้าเสรีในยุคโลกาภิวัฒน์ ระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพจะช่วยลดต้นทุนและร่นระยะเวลาการดำเนินงาน นอกจากนี้ยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการส่งเสริมประสิทธิภาพของธุรกิจระดับโลกได้
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีความเหมาะสมสำหรับโลจิสติกส์ดังนี้
• ผู้นำในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินโดจีน
• การลงทุนอย่างหนาแน่นจากประเทศญี่ปุ่น
• ศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ดังนั้น รัฐบาลญี่ปุ่นจึงมุ่งเสริมสร้างระบบโลจิสติกส์ในกลุ่มประเทศอาเซียนให้แข็งแกร่งและ
เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น
สำหรับประเทศไทย รัฐบาลญี่ปุ่นได้มอบหมายให้องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ เจโทร กรุงเทพฯ ในฐานะองค์กรส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่น เป็นผู้ประสานงานและดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย
นับจากปีงบประมาณ 2546 ( เมษายน 2546- มีนาคม 2547)
เจโทรเริ่มดำเนินกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ดังนี้
1) การศึกษาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย
1.1) ความเป็นมาของการศึกษา
1.2) ผลของการศึกษา
2 ) จัดสัมมนาเรื่อง “ โลจิสติกส์จากประสบการณ์ของญี่ปุ่น ”จากผลการศึกษาที่ระบุว่า
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คือปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การพัฒนาโลจิสติกส์อย่างยั่งยืนประสบผลสำเร็จ
เจโทรจึงจัดสัมมนาเพื่อให้ประชาชนทั่วไปตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าว โดยเจโทรได้ร่วมมือ
กับสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (TNSC) จัดสัมมนาเรื่อง ‘ โลจิสติกส์
จากประสบการณ์ของญี่ปุ่น ' ขึ้นเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2547
ในการสัมมนาครั้งนี้ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์ชั้นนำสามท่านจากญี่ปุ่นมาเป็นองค์ปาฐก
ประกอบด้วย :
• มร. ทาคาโอะ คาวาชิม่า ผู้ตรวจบัญชีของบริษัท Ajinomoto General Food ซึ่งนำเสนอเรื่อง
“การบริหารและกลยุทธ์โลจิสติกส์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน” (ภาษาไทย


• มร. ฮารุฮิสะ โซมะยะ ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายกระจายสินค้าและโลจิสติกส์ กระทรวงเศรษฐกิจ
การค้า และอุตสาหกรรม (METI) ของญี่ปุ่นนำเสนอเรื่อง “*นโยบายโลจิสติกส์ในญี่ปุ่น
และความคาดหวังสำหรับระบบโลจิติกส์ที่มีประสิทธิภาพในประเทศไทย*” (ภาษาไทย


• มร. ชุนอิจิ โคบายาชิ ที่ปรึกษาอาวุโสของ JMA Consultant Inc. กล่าวในหัวข้อ
“ เทคนิคการปรับปรุงสถานที่ปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างประสิทธิภาพและผลผลิต
” (ภาษาไทย


งานสัมมนามีผู้เข้าร่วม 400 คนจากภาคเอกชนและรัฐบาล รวมทั้งผู้ที่มีบทบาทสำคัญ
ในด้านโลจิสติกส์อีกหลายคน
ปีงบประมาณ 2547 ของญี่ปุ่น ( เมษายน 2547- มีนาคม 2548)
เจโทร กรุงเทพฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพย์กรมนุษย์มาอย่างต่อเนื่อง อันเป็นแนวทางจัด
กิจกรรมสำหรับปีงบประมาณนี้ ด้วยการจัดส่งผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่นมาให้ความรู้ เจโทร กรุงเทพฯ จึงร่วมมือกับสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท)รวมถึงสถาบัน/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
จัดกิจกรรมในด้านต่างๆ ประกอบด้วย การสัมมนา งานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ และการอบรม เพื่อช่วยพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ในประเทศไทย
กิจกรรมที่ผ่านมา
1) การสัมมนาเรื่อง " *การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงกลยุทธ์เพื่อจัดระบบงานโลจิสติกส์
: แนวโน้มที่ผ่นมา* "
เจโทร กรุงเทพฯ ได้เชิญ มร. ฟุมิโตชิ ฟุจิมาคิ ซึ่งเป็น CEO ของบริษัท Logistics Laboratories of Japan มาบรรยายงานด้านการบริหารโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน (SCM) กลยุทธ์การบริหารไอที และตัวอย่างแสดงให้เห็นประโยชน์ในการบริหารระบบไอทีในงานโลจิสติกส์และ SCM ในงานสัมมนาเรื่อง “ การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงกลยุทธ์เพื่อจัดระบบงานโลจิสติกส์ : แนวโน้มที่ผ่านมา ” (ภาษาไทย


งานสัมมนามีผู้เข้าร่วม 400 คนจากภาคเอกชนและรัฐบาล รวมทั้งผู้ที่มีบทบาทสำคัญ
ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2547 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ การสัมมนานี้เป็นส่วนหนึ่งของ “ งานแสดงระบบโลจิสติกส์และการให้บริการเพื่อการส่งออก ” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-23 กรกฎาคม 2547 จัดโดยกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ และสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย
คุณฟุจิมาคิเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในงานด้านโลจิสติกส์มากกว่า 10 ปี โดย คุณฟุจิมาคิ ได้นำข้อมูลความต้องการด้านโลจิสติกส์ในปัจจุบัน รวมถึงประเด็นและแนวโน้มของงานด้านนี้มา
บรรยายในการสัมมนา
2 ) การสัมมนาเรื่อง "แนวโน้มในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในประเทศไทยและความร่วมมือจากญี่ปุ่น"
เจโทร กรุงเทพฯ ร่วมมือกับสรทจัดการสัมมนาส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของ
ระบบโลจิสติกส์ครั้งที่ 2 ขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2547 เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับโลจิสติกส
์ทั้งในญี่ปุ่นและประเทศไทย อีกทั้งเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และกลยุทธ์เพื่อโลจิสติกส์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันด้านโลจิสติกส์อีกด้วย
การสัมมนาครั้งแบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ :
2.1) การสัมมนาช่วงเช้า : ทิศทางของโลจิสติกส์ในประเทศไทยและความร่วมมือจากญี่ปุ่น
ผู้วางนโยบายด้านโลจิสติกส์สามท่านทั้งจากประเทศไทยและญี่ปุ่น ได้รับเชิญให้ขึ้นกล่าวสุนทรพจน
์และนำเสนอข้อมูล :
• สุนทรพจน์เรื่อง “การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทย”
โดยคุณวันชัย ศารทูลทัต ปลัดกระทรวงคมนาคม
• แผนแม่บทด้านโลจิสติกส

• ความร่วมมือจากประเทศญี่ปุ่นในการพัฒนาโลจิสติกส์ในประเทศไทย (ZIP FILE) โดย มร. ซาโตชิ สุเอะนากะ ผู้ช่วย
ผู้อำนวยการกองความร่วมมือทางวิชาการ กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (METI ) ของญี่ปุ่น
2.2) การสัมมนาช่วงบ่าย : การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านโลจิสติกส์และแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม (Best Practice)
มีผู้บรรยายทั้งจากประเทศไทยและญี่ปุ่นประกอบด้วย
• การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านโลจิสติกส์ในญี่ปุ่น (ZIP FILE) โดย มร. คุนิโอะ คาคุตะ รองประธานบริหาร สถาบันระบบโลจิสติกส์ของประเทศญี่ปุ่น
(Japan Institute of Logistics System (JILS) )
• ทิศทางการสร้างสมรรถนะด้านโลจิสติกส์ของประเทศไทย (ZIP FILE) โดยคุณตชะ บุณยะชัย เลขาธิการ สรท
• กรณีศึกษาเรื่องการประเมินเพื่อวัดความสามารถด้านโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานในประเทศไทย (ZIP FILE)
โดย ผศ. ดร. รุธิร์ พนมยงค์ หัวหน้าภาควิชาธุรกิจ โลจิสติกส์ และการขนส่งระหว่างประเทศ
( International Business, Logistics & Transport )
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
• โครงการนำร่องการใช้ RFID และประสิทธิภาพจากการนำไปใช้จริงในญี่ปุ่น (ZIP FILE) โดย มร. ชิเกะรุ อะวาโมโต
้ กรรมการผู้จัดการและนักวิจัย จาก Leading Information Technology Institute Inc.
การสัมมนาครั้งนี้ได้รับการตอบรับอย่างดีจากนักธุรกิจ ข้าราชการ และนักวิชาการกว่า 400 คน
3) การสัมมนาในจังหวัดภาคตะวันออกของประเทศไทย
มีการจัดการสัมมนาเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปตระหนักถึงความสำคัญของระบบโลจิสติกส์ จัดขึ้นอีกครั้งหนึ่งที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย
“ ระบบริหารงานโลจิสติกส์เชิงกลยุทธ์ ” ซึ่งเป็นการสัมมนาระยะเวลาหนึ่งวันในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548 ที่พัทยา ซึ่งในงานมีการให้ข้อมูลเบื้องต้น และแนวทางการปฏิบัติงานโลจิสติกส์ในสภาวะจริง รวมถึงตัวอย่างของการนำระบบโลจิสติกส์ไปใช้งานอย่างประสบผล เช่น
การประเมินผลการปฏิบัติงานโลจิสติกส์ เพื่อสร้างระบบโลจิสติกส์ที่ทันสมัย หรือปรับปรุงระบบโลจิสติกส์ในศูนย์กระจายสินค้า
เจโทร กรุงเทพฯ และ สรทได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์ชั้นนำทั้งจากประเทศไทยและญี่ปุ่นมาบรรยายในงานนี้ อันประกอบด้วย
• สุนทรพจน์เรื่อง “ กลยุทธ์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในภาคตะวันออก ” โดยคุณวันชัย ศารทูลทัต ปลัดกระทรวงคมนาคม
• ระบบบริหารโลจิสติกส์เชิงกลยุทธ์ (ZIP FILE) โดย มร. เทะรุโอะ คาวามูระ กรรมการผู้จัดการ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือของญี่ปุ่น
• วิธีประเมินการปฏิบัติงานด้านโลจิสติกส์ (ZIP FILE) โดย ผศ. ดร. รุธิร์ พนมยงค์ หัวหน้าภาควิชาธุรกิจ โลจิสติกส์ และการขนส่งระหว่างประเทศ
( International Business, Logistics and Transport ) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
• วิธีปรับปรุงระบบโลจิสติกส์ในศูนย์กระจายสินค้า (ZIP FILE) โดย มร. จุน ซูซูคิ ประธานและที่ปรึกษาของบริษัท Sun Logistics Development
4 ) การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องโลจิสติกส์ระหว่างประเทศสำหรับผู้บริหาร
สรท Association of Overseas Technical Scholarship (AOTS) โดยได้รับการสนับสนุนจากเจโทร กรุงเทพฯ
ร่วมจัดงานสัมมนา
เชิงปฏิบัติการขึ้นระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ถึง 3 มีนาคม 2548 เป็นหลักสูตรเร่งรัดระยะหนึ่งสัปดาห์สำหรับ
ผู้บริหารในสายงาน โลจิสติกส์กิจกรรมประกอบด้วยการบรรยายและแบ่งกลุ่มนำเสนอโครงงาน
เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญทางลอจิสติกส์จากญี่ปุ่นพร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ
์และแนวคิดระหว่างผู้เข้าอบรม ด้วยกัน
5) โครงการนำร่องสำหรับหลักสูตรและตำราเรียนด้านโลจิสติกส์
เจโทรสนับสนุนให้มีผลิตสื่อการเรียนการสอนด้านโลจิสติกส์ภาษาไทยโดยมีการแปลเนื้อหาหลักสูตรจาก
ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาไทยและปรับเนื้อหาให้ตรงกับความต้องการของคนไทยมากที่สุด ตามผลที่ได้จากแบบสอบถามและการสำรวจภาคสนามที่ทำกับบริษัทในประเทศ หลักสูตรและตำราเรียนด้านโลจิสติกส์ที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงแล้วจะได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่น
ซึ่งจะปรึกษาหารือกับอาจารย์ในมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย หลักสูตรและตำราเรียนนี้จะผ่านการทดลองใช้ โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าอบรมเป็นพนักงานระดับหัวหน้างานในอุตสาหกรรมการผลิต
รวมถึงการฝึกอบรมจากการทำงานจากบริษัทที่เป็นกรณีศึกษา โครงการนี้ดำเนินการโดย
หน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไรของญี่ปุ่น โดยได้รับความร่วมมือจากสรท
6) โครงการนำร่องอื่นๆ เกี่ยวกับระบบโลจิสติกส์ทั่วเอเชีย
นอกเหนือจากโครงการนำร่องข้างต้นแล้ว เจโทรยังให้การสนับสนุนโครงการนำร่องอื่นๆ อีก 2 โครงการในเรื่อง
ระบบขนส่งและโลจิสติกส์ทั่วเอเชียด้วยรถบรรทุก และระบบควบคุมการไหลเวียนของสินค้า
คงคลังทางอินเตอร์เน็ตโดยเริ่มจากประเทศไทยเป็นแห่งแรก การพัฒนาและผลที่ได้จากโครงการนำร่องเหล่านี้จะเห็นได้ในเดือนมีนาคม 2548 นี้
ปีงบประมาณ 2548 ของญี่ปุ่น ( เมษายน 2548 - มีนาคม 2549)
1) การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง “ คลีนิคโลจิสติกส์ ” ในประเทศไทย
1.1) ความเป็นมา
คลีนิคโลจิสติกส์เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างเจโทร และสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท) เพื่อเสริมสร้างระบบโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพที่สุดและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศจาก
การปฎิบัติและประสบการณ์ของประเทศญี่ปุ่น
1.2) วัตถุประสงค์
• สนองตอบนโยบายของรัฐบาลในการยกระดับความสามารถในการแข่งขันทางโลจิสติกส์ไปสู่ระดับสากล
• สร้างการรับรู้ถึงความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทางโลจิสติกส์ภายในและภายนอกบริษัท
• แนะนำระบบคลีนิคโลจิสติกส์จากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นเพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาต่อไปในประเทศไทย
1.3) ประโยชน์ที่จะได้รับ
โครงการคลีนิคโลจิสติกส์นับเป็นการศึกษาความเป็นไปได้สำหรับ
• หน่วยงานหรือองค์กรในการประยุกต์ใช้ระบบคลีนิคโลจิสติกส์ในประเทศไทย
• ผู้ประกอบการไทยในการนำเอาความรู้มาใช้เพื่อปรับปรุงกิจกรรมโลจิสติกส์ภายในสถานประกอบการ
1.4) ขั้นตอนการทำงาน
• ทำการวินิจฉัยอาการ/สภาวการณ์ของแต่ละบริษัท รวมทั้งชี้ให้เห็นปัญหาหรือประเด็นที่ต้องปรับปรุง
• นำเสนอแนวทางการแก้ไขและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อเสริมสร้างระบบโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพที่สุดจาก
การให้คำปรึกษาและคำแนะนำเชิงปฎิบัติ
ดังนั้นเจโทรและสรทได้ดำเนินการดังต่อไปนี้เพื่อจัดตั้งคลีนิคโลจิสติกส์
• เจโทรเชิญผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่น 2 คนมาเป็นหมอเพื่อทำการรักษาบริษัทไทย 2 แห่ง
• เจโทรส่งทีมนักวินิจฉัย 6 คน เข้าร่วมการวินิจฉัยอาการ/สภาวการณ์ของบริษัทและถ่ายทอดความรู้ในการวินิจฉัยแก่บริษัททั้ง 2 แห่ง
• ในแต่ละทีมจะประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ(หมอ)ชาวญี่ปุ่นและนักวินิจฉัย 3 คนดูแลบริษัทที่มาจากอุตสาหกรรมอาหาร 1 แห่ง และบริษัทจากอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์อีก 1 แห่งเพื่อเสริมสร้างระบบโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพที่สุด
เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ศกนี้ นายอะซึโอะ คุโรดะ ประธาน เจโทร กรุงเทพฯ นายสุชาติ จันทรานาคราช ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย นายชัยสิทธิ์ เภรีรัตนสมพร กรรมการผู้จัดการบริษัท ธารสมุทรฟู้ด จำกัด และ ม.ล.สมรมาศ โพธิ์ศิริสุข ผู้จัดการทั่วไปฝ่าย IT, จัดหาและบริหารคลังสินค้า บริษัท สามมิตรมอเตอร์สแมนูแฟคเจอริง จำกัด ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจโครงการ คลีนิคโลจิสติกส์ โดยโครงการนำร่องมีระยะเวลาในการดำเนินงานประมาณ 10 เดือนเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคม 2548 จนถึงมกราคม 2549

เมื่อโครงการคลีนิตโลจิสติกส์แล้วเสร็จจะมีการจัดทำเป็นคู่มือ “ การเสริมสร้างระบบโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพที่สุด ” เพื่อเผยแพร่ให้แก่บริษัท/โรงงานอื่นๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสถานประกอบการของตน เพื่อเป็นการสนับสนุนให้บริษัท/โรงงานนำระบบการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพเข้ามาช่วย
ลดต้นทุนในองค์กร
2) การสัมมนาของเจโทรภูมิภาคอาเซียนในหัวข้อ การริเริ่มระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพทั่วภูมิภาคอาเซียน
2.1) ความเป็นมาและวัตถุประสงค์
ภายใต้ความคืบหน้าในการรวมกลุ่มเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกรวมถึงการพัฒนาข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ ( Economic Partnership Agreement) และ ข้อตกลงเขตการค้าเสรี ( Free Trade Agreement) เพื่อนำไปสู่การเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศและการลงทุน สถานประกอบการส่วนใหญ่โดยเฉพาะบริษัทผู้ผลิตซึ่งมีธุรกิจอยู่ทั่วภูมิภาคอาเซียนให้ความสนใจใน
การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจทำการค้าและการลงทุนในภูมิภาคอาเซียนรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานทางโลจิสติกส์ กฎระเบียบทางการค้าและการลงทุนแทนที่ระดับพิกัดภาษีศุลกากร เพราะฉะนั้น เจโทรจึงจัดสัมมนาเพื่อแนะนำยุทธ์ศาสตร์โลจิสติกส์สำหรับธุรกิจที่มีฐานประกอบการทั่วภูมิภาคอาเซียน
หัวข้อที่ 1 การใช้ประโยชน์จากพาเล็ทที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดย บริษัทเดนโซ่ จำกัด ประเทศญี่ปุ่น
หัวข้อที่ 2 ศักยภาพของเส้นทางการขนส่งทางบกในภูมิภาคแม่น้ำโขง โดย บริษัทซุมิโตโม้ จำกัด ประเทศญี่ปุ่น
2.2) ประเทศ/วันที่/หัวข้อ
• สิงคโปร์/วันจันทร์ที่ 12 กันยายน/หัวข้อที่ 1, 2
• กรุงเทพฯ /วันอังคารที่ 13 กันยายน/หัวข้อที่ 1, 2
• จาการ์ต้า/วันพฤหัสที่ 15 กันยายน/หัวข้อที่ 1
• ฮานอย/วันพฤหัสที่ 15 กันยายน/หัวข้อที่ 2
• โฮจิมิน/วันศุกร์ที่ 16 กันยายน/หัวข้อที่ 2
2.3) โปรแกรมสัมมนาที่ประเทศไทย
วันที่ | วันอังคารที่ 13 กันยายน 2548 |
เวลาี่ | 13.0017.00 น. |
สถานที่ี่ | ห้องกมลทิพย์บอลรูม 1 และ 2 โรงแรมสยามซิตี้ |
ภาษาี่ | แปลจากภาษาญี่ปุ่นเป็นไทย |
โปรแกรม | 13.00-13.30 น. ลงทะเบียน |
13.30-13.40 น. กล่าวต้อนรับ โดย มร. อะซึโอะ คุโรดะ ประธาน เจโทร กรุงเทพฯ | |
13.40-14.00 น แนะนำโครงการ J-Front สนับสนุนโดย กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น โดย ผู้แทนจาก เจโทร สำนักงานใหญ่ | |
14.00-15.15 น. หัวข้อที่ 1 การใช้ประโยชน์จากพาเล็ทที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดย บริษัทเดนโซ่ จำกัด ประเทศญี่ปุ่น | |
15.15-15.30 น. รับประทานของว่าง | |
14.00-15.15 น. หัวข้อที่ 1 การใช้ประโยชน์จากพาเล็ทที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดย บริษัทเดนโซ่ จำกัด ประเทศญี่ปุ่น | |
15.30-16.45 น. หัวข้อที่ 2 ศักยภาพของเส้นทางการขนส่งทางบกในภูมิภาคแม่น้ำโขง โดย บริษัทซุมิโตโม้ จำกัด ประเทศญี่ปุ่น |
3) สัมมนาในต่างจังหวัดเกี่ยวกับการบริหารจัดการโลจิสติกส์
3.1) จังหวัดมุกดาหาร ระหว่างวันที่ 13-14 ตุลาคม 2548
3.2) จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 17-18 พฤศจิกายน 2548
แหล่งข้อมูลโลจิสติกส์
เว็บไซต์ที่น่าสนใจ
หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อที่
ฝ่ายประชาสัมพันธ์
เจโทร กรุงเทพฯ
โทร 662-253-6441-5 ต่อ 147
อีเมลล์:bgk-pr@jetro.go.jp
ฝ่ายประชาสัมพันธ์
เจโทร กรุงเทพฯ
โทร 662-253-6441-5 ต่อ 147
อีเมลล์:bgk-pr@jetro.go.jp